คุณจะทำยังงัยถ้าหากคุณอยู่ในชุมชนแออัด มีลูกๆ ที่ยังเล็ก และสามีก็ทิ้งคุณไป? เขาไม่ได้ให้เงินเป็นค่าเลี้ยงดู แล้วคุณเองไม่สามารถที่จะหางานดีๆ ทำเพราะเรียนจบแค่ชั้นม. 1 เท่านั้น แม้ว่าจะหางานได้ แล้วใครเล่าจะเลี้ยงลูกให้? ถ้าคุณส่งลูกให้ไปอยู่กับพ่อแม่ในชนบทล่ะก็ นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสได้เห็นหน้าลูกๆ เพียงปีละครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น คุณไม่สามารถที่จะจ้างพี่เลี้ยงให้ดูแลลูกได้แน่นอน
นี่คือเวลาที่โฮปการ์ดเข้ามาช่วย โดยที่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เรียกโครงการนี้ว่า “โฮปการ์ด” พวกเขาเรียกเช่นนี้เพราะนี่คือสิ่งที่พวกเขาเป็นจริงๆ ที่สำหรับความหวังและการดูแลเอาใจใส่
ในปี 2551 ผู้หญิงยี่สิบเอ็ดคนของโฮปการ์ดได้ทำการ์ดอวยพรจำนวน 23,455 แล้วขายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และตลาดการค้าการ์ดอวยพรนี้ได้เติบโตขึ้นเพราะการ์ดแต่ละใบเป็นชิ้นงานแห่งศิลปะ แต่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขาก็คือว่าเขาสามารถทำการ์ดเองได้ที่บ้าน เพื่อช่วยให้พวกเขาได้เลี้ยงดูลูกไปพร้อมๆ กัน ครอบครัวอยู่ด้วยกัน นี่คือชีวิต
เรื่องราวของชีวิตจริง
ขี้เหนียว นี่คือคำที่หล้าใช้เรียกคนที่เป็นสามีของเธอเมื่อแรกเริ่มที่เธอทำงานกับโฮปการ์ด คนอื่นๆ อาจจะเรียกแย่กว่านั้นอีก
แม้หล้าจะท้องลูกคนที่สองและใกล้คลอดแล้วตอนที่เธอทำงานที่โฮปการ์ด แต่สามีของเธอไม่เคยช่วยเหลืออะไรกับครอบครัวเลย สามีของเธอทำงานเป็นคนผสมเหล้าในบาร์ในย่านโสเภณีแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ดังนั้นเขาได้เงินดีพอสมควร แต่หล้าเองต้องเป็นคนหาเงินจ่ายสำหรับทุกสิ่ง ตลอดสี่ปีที่ผ่านมาหล้าทำงานกับโฮปการ์ด ผู้หญิงที่ดูมั่นคงและมีรอยยิ้มเสมอ ผู้ซึ่งหลงใหลในลูกทั้งสองคนของเธออย่างเห็นได้ชัด ในปีนี้สถานการณ์ครอบครัวที่ไม่มั่นคงแย่หนักเข้าไปอีก สามีทิ้งเธอไปแล้วเดินทางไปภาคเหนือเพื่อหาซื้อบ้านพักรับรองสักหลัง เมื่ออยู่ที่นั่น สามีหล้าเพิ่งจะรู้ว่าเงินไม่พอ จึงกลับมาเพื่อมาหาหล้าและลูกๆ แต่ไม่ใช่เพราะความห่วงใยในตัวพวกเขา แทนความห่วงใยเขากลับขโมยเงินเก็บออมของหล้าแล้วกลับไปยังภาคเหนือ เมื่อหล้าโทรหาสามีเพื่อขอเงินคืน เขากลับบอกว่า “สิ่งที่เป็นของหล้าก็เป็นของเขา” แล้วยังสั่งให้หล้าส่งเงินให้เขาอีก (แม้ว่านั่นจะหมายถึงการที่หล้าไปเป็นหญิงขายบริการหรือทำงานในบาร์ก็ตาม) จะมีเรื่องที่เลวร้ายกว่านี้ได้อีกหรือไม่? แน่หละ ลูกสาวของหล้าแขนหักที่โรงเรียน เพราะจำเป็นอย่างหนักหล้าจึงโทรหาสามีของเธอแล้วอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากเขา แต่สิ่งที่สามีทำนั้นเรียกว่าช่วยหรือเปล่า? เขามาเยี่ยมลูกสาวที่โรงพยาบาลโดยไม่มีของขวัญสักชิ้น ยิ่งไปกว่านั้นเขายึดเอาของขวัญที่คนอื่นๆ ให้กับลูกของตนเอง แล้วยังบอกว่าเขาจะอยู่กับหล้าสักระยะ นี่จะเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายสำหรับหล้ากันแน่?
“ครอบครัว” ที่ช่วยส่องแสงสว่างไสวให้แก่หล้าคือครอบครัวที่โฮปการ์ด พวกเขาอยู่กับเธอในทุกที่และเพื่อเธอเสมอไม่ว่าจะเป็นอย่างไร พวกเขาร้องไห้ร่วมกับเธอ อธิษฐานร่วมกับเธอ ช่วยเหลือเธอและจะยังคงทำเช่นนั้นไม่ว่าจะยาวนานแค่ไหนก็ตาม เธอไม่ได้อยู่คนเดียว เธอมีความหวัง นี่คือชีวิตหล้า นี่คือชีวิต
การสนับสนุน
- รถมอเตอร์ไซด์หนึ่งคัน – 42,000 บาท
- ค่าเช่าตึก – 6,000 บาท
- คอมพิวเตอร์ขนาดพกพาหนึ่งเครื่อง – 20,000 บาท
อาสาสมัคร
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ)
- ฝ่ายบัญชี