คุณคือผู้หญิงที่อยู่ในหมู่บ้านชนบท ไม่มีเงินสักบาทในกระเป๋า แต่คุณเองก็เคยชินกับเรื่องแบบนี้ ทั้งคุณ สามีของคุณและลูกๆ ของคุณปลูกผักบ้างเล็กน้อย มีไก่ ปลูกข้าว และหวังแค่ให้ออกผลดี แต่สิ่งที่หวังก็ไม่เกิดขึ้น ข้าวที่ปลูกเสียหายไม่ได้เก็บเกี่ยว ดังนั้นสามีจึงต้องเข้ากรุงเทพฯ เพื่อได้ค่าจ้างแรงงานต่อวัน ทีแรกเขาจะไปเพียงช่วงหน้าแล้ง แต่เมื่อหน้าฝนมาเยือนสามีก็ไม่กลับมา แล้วเขาก็ไม่เคยกลับมาอีกเลย และคุณเป็นเพียงผู้หญิงที่อยู่ในหมู่บ้านชนบทกับครอบครัวที่ปราศจากสามี คุณจะทำอย่างไร?
ลองถามครอบครัวที่ทำนาในจังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นบริเวณที่ยากจนอย่างมากในประเทศไทย แล้วเขาจะบอกว่าคุณว่า นี่เป็นเรื่องปกติ การแก้ปัญหาก็คือ โครงการพัฒนาชนบทของมูลนิธิโครงการเพื่อชีวิตได้เล็งเห็นความจำเป็นและทำงานอย่างเข้าถึงผู้หญิงเหล่านี้ ผู้ประสานงานของโครงการพัฒนาชนบทเข้าเยี่ยมหมู่บ้าน พูดคุยกับกลุ่มผู้หญิง และสอบถามพวกเขาว่าอยากช่วยเหลือตนเองกันอย่างไร คำตอบที่ได้ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ บางที่ต้องการปลูกพืชผักสวนครัว บ้างก็อยากทำกระเป๋าถือ บ้างก็อยากถักทอ บ้างก็อยากเลี้ยงไหม เราได้ช่วยครอบครัวกว่า 140 ครอบครัว นี่คือชีวิต
เรื่องราวของชีวิตจริง
แป้งไม่ได้เป็นอย่างที่เคยเป็นมาก่อน เมื่อผู้ประสานงานจากโครงการพัฒนาชนบทของมูลนิธิโครงการเพื่อชีวิตเข้ามาพบเธอครั้งแรก แป้งเป็นคนยากจน ต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก และกำลังสงสัยว่ามีหนทางไหนที่ช่วยให้หลุดพ้นจากวงจรชีวิตความยากจนของเธอได้ นั่นมันเมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ตอนนี้หล่ะ? ตอนนี้แป้งเป็นผู้นำ ช่วยเหลือคนอื่นให้ก้าวออกจากวงจรความยากจนที่เธอและครอบครัวเคยเป็นทาสอยู่นาน
ด้วยความช่วยเหลือของโครงการพัฒนาชนบท แป้งได้กลายมาเป็นผู้นำกลุ่มสตรีในหมู่บ้านของเธอเอง พวกเขาตัดสินใจที่จะทำโครงการของตนเองด้วยการเลี้ยงไหมและขายเส้นไหมคุณภาพดีแบบเกรดเอ กรรมวิธีและการเรียนรู้วิชาชีพแบบใหม่เช่นนี้ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายในบ้างครั้ง แต่เนื่องจากผู้ประสานของโครงการพัฒนาชนบทได้อยู่ด้วยกับแป้งและกลุ่มสตรีของเธอในทุกกระบวนการ จึงกลายเป็นโครงการที่นับว่าประสบความสำเร็จที่สุดของโครงการพัฒนาชนบท ชนิดที่ว่าทั้งแป้งและสามีของเธอสามารถซื้อวัวได้เป็นสี่สิบตัว สำหรับคนไทยที่ทำไร่ทำนาแล้ว นั่นคือความมั่งมีที่เห็นได้ แต่แป้งยิ่งทำไปกว่านั้นอีก เธอเข้าไปช่วยคนอื่นๆ ให้มีอย่างที่เธอมี ในปี 2551 เธอทำงานกับผู้ประสานงานของโครงการพัฒนาชนบทเพื่อจัดสัมมนาในหมู่บ้านของเธอที่หนองเม็กเพื่อให้ชาวไร่ชาวนาได้รู้วิธีการพัฒนาคุณภาพดินเกษตร จากสัมมนาในครั้งนั้น ทั้งหมู่บ้านได้รับผลกระทบในแง่ดี ผู้นำในหมู่บ้านจัดกลุ่มพิเศษที่จะทำและขายปุ๋ยธรรมชาติที่พวกเขาได้เรียนวิธีการทำมาจากสัมมนาครั้งนั้น ชีวิตของแป้งเปลี่ยนไปและทำให้ทั้งหมู่บ้านเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย นี่คือชีวิตของแป้ง และนี่คือชีวิต
การสนับสนุน
- เงินทุนสำหรับโครงการต่างๆ จากจำนวน 70,000 – 200,000 บาท (ให้อีเมล์สอบถามเพิ่มเติมได้)
อาสาสมัคร
- ผู้ช่วยผู้ประสานโครงการ
- ผู้หาเงินทุน (ไม่เต็มเวลา)